มาตรา 19 ให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีสภาวิชาการ ประกอบด้วย
1.อธิการบดี เป็นประธานสภาวิชาการ
2.รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นรองประธานสภาวิชาการ
3.กรรมการสภาวิชาการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขต คณบดี ผู้อำนวยการ
สถาบันเพื่อการวิจัย และผู้อำนวยการวิทยาลัย ถ้ามี
4.กรรมการสภาวิชาการจำนวนหกคน ซึ่งเลือกจากคณาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัย
5.กรรมการสภาวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสิบคน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคคลภายนอก โดยความเห็นชอบ
ของสภามหาวิทยาลัย
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการสภาวิชาการตาม (4) และ (5) ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
ให้อธิการบดีแต่งตั้งคณาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยคนหนึ่งเป็นเลขานุการสภาวิชาการ และอาจแต่งตั้งคณาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา 20 วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการสภาวิชาการตลอดจน การประชุมและการดำเนินงานของสภาวิชาการให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 21 สภาวิชาการมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
1.พิจารณาเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับหลักสูตร การเรียนการสอน การวิจัย การวัดผลการศึกษา
และการประกันคุณภาพการศึกษาเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
2.เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการรวมและการยกเลิกสาขาวิชาต่อสภามหาวิทยาลัย
3.เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
4.พิจารณาเสนอความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับวิชาการต่อสภามหาวิทยาลัย
5.ส่งเสริมการวิจัยและการบริการทางวิชาการที่สอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัย
และความต้องการของชุมชน
6.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจ
และหน้าที่ของสภาวิชาการ